Assignment2

1.)จงอธิบายการทำงานของ Internet

          เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดหรือต่างขนาดกัน ที่เชื่อมต่อภายในเครือข่ายสามารถสื่อสารกันได้นั้น จะต้องมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกันหรือใช้กฎและข้อตกลงเดียวกัน ซึ่งก็คือ โพรโทคอล(protocol) ในการควบคุมรูปแบบข้อมูลและการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โพโทคอลที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตเรียกว่า ทรานมิสชันคอนโทรไปรโทคอล/อินเทอร์เน็ตโพรโทคอลหรือมีชื่อย่อว่า ทีซีพี/ไอพี(TCP/IP)

          อินเทอร์เน็ตสามารถส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานปลายทางได้มากยิ่งหนึ่งเส้นทาง ซึ่งหากเส้นทางบางเส้นทางได้รับความเสียหายระบบเครือข่ายก็ยังคงสื่อสารกันได้ โดยเส้นทางที่เหลือที่เหลือเส้นทางอื่น ซึ่งการส่งข้อมูลดังกล่าวจะใช้หลักการของเครือข่ายแบบแพ็กเก็ตสวิตชิง(Packet-Switching Network) กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นกลุ่มๆ หรือแพ็กเก็ตและส่งไปยังปลายทาง โดยใช้เส้นทางต่างๆกัน ขึ้นอยู่กับปลายทางที่กำหนด โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่องเพื่อให้คอมพิวเตอร์อื่นๆอ้างอิงถึงได้ เช่นเดียวกับการโทรศัพท์จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งซึ่งจำเป็นต้องมีหมายเลขโทรศัพท์ของเครื่องต้นทางและเครื่องปลายทาง
          หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรียกว่า หมายเลขไอพี (IP Address) ซึ่งเป็นหมายเลขชุดหนึ่งมีขนาด 32บิดหมายเลขชุดนี้จะถูกแบ่งออกเป็น4ส่วนๆละ8บิตเท่าๆกัน ซึ่งแต่ละส่วนจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255โดยหมายเลขไอพีของเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องไม่ซ้ำกัน และเนื่องจากหมายเลขไอพีจดจำได้ยาก ถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากอยู่ในเครือข่าย ก็จะทำให้สับสนได้ง่าย จึงได้เกิดการตั้งชื่อที่เป็นตัวอักษรขึ้นมาแทนหมายเลขไอพี เพื่อช่วยในการจดจำเรียกว่า ดีเอ็นเอส(DNS:Domain Name Server)ซึ่งประกอบไปด้วย2ส่วน คือ ชื่อ และโดเมน
โดเมนมีมาตรฐานใช้ร่วมกันสำหรับหน่วยงานและประเทศต่างๆ ดังนี้
1.โดเมนระดับบนสุด จะบอกถึงประเภทขององค์กร หรือชื่อประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่

          ทั้งนี้ในกรณีที่เป็นโดเมนระดับบนสุด ที่บ่งบอกประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่นั้น จะต้องมีโดเมนระดับย่อย เพื่อระบุประเภทขององค์กร

2.โดเมนระดับย่อย ใช้ในประเทศ ซึ่งจะบอกถึงประเภทองค์กร

2.)เมื่อนักศึกษาต้องการใช้ internetกับอุปกรณ์สื่อสารหรือคอมพิวเตอร์มีวิธีการอย่างไร
2.1 การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกับคอมพิวเตอร์

          การเชื่อมเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตที่นิยมใช้สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปหรือหน่วยงานขนาดเล็กจะใช้การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์(Dial-Up Connection) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบชั่วคราวหรือเฉพาะบางเวลา ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสิ่งที่จำเป็นในการเชื่อมต่อ มีดังนี้
2.1.1เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในการส่งและรับข้อมูล
2.1.2เว็บบราวเซอร์ เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการดึงข้อมูลมาจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจัดเก็บอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่าHTML (Hyper Text Markup Language)และแปลความหมายของรูปแบบข้อมูลที่ได้กำหนดเอาไว้เพื่อนำเสนอแก่ผู้ใช้
2.1.3หมายเลขโทรศัพท์และสายโทรศัพท์ สำหรับเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูลข่าวสาร โดยผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์เพียง3บาทต่อครั้งของการเชื่อมต่อ
2.1.4โมเด็ม เป็นอุปกรณ์สำหรับแปลงสัญญาณข้อมูลของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในรูปแบบดิจิทัล(Digital)ให้เป็นสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อก(analog) และเมื่อเป็นผู้ส่งจะแปลงสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อกให้เป็นดิจิทัล
2.1.5บริการชุดอินเทอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต(ISP)ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกขอเป็นสมาชิกเป็นรายเดือน รายปี หรืออาจเป็นการซื้อชุดอินเทอร์เน็ตแบบสำเร็จรูป โดยคิดค่าใช้บริการเป็นหน่วยชั่วโมง บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เช่น ทีโอที กสท.โทรคมนาคม ทีทีแอนด์ที ล็อกอินโฟ3BB เป็นต้น

2.2 การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกับมือถือ หรืออุปกรณ์สื่อสารต่างๆ

          โดยทั่วไป โทรศัพท์มือถือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยสัญญาณไร้สายเดียวกันกับที่ใช้ในการโทรศัพท์ โทรศัพท์ของคุณเชื่อมต่อกับเสารับส่งสัญญาณมือถือในพื้นที่ที่จะเชื่อมต่อคุณกับอินเทอร์เน็ต เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตนั้นอาจค่อนข้างสูง ผู้ให้บริการจึงคิดค่าบริการสำหรับแผนบริการข้อมูล
          อุปกรณ์บางอย่าง เช่น อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ใช้แอนดรอยด์ สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านทางWi-Fiได้ด้วย Wi-Fiช่วยให้คุณสามารถเชื่อมต่อโทรศัพท์ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปของคุณกับอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายและโดยไม่จำเป็นต้องใช้สัญญาณมือถือหรือแผนบริการข้อมูลแต่อย่างใด โดยทั่วไป การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือของคุณเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้นผ่านทางเครือข่ายWi-Fiแต่คุณจะต้องอยู่ในพื้นที่ที่มีWi-Fiให้บริการอยู่ ร้านกาแฟ ร้านค้าปลีกจำนวนมาก หรือบางครั้งอาจจะเป็นเมืองทั้งเมืองมีWi-Fiให้บริการฟรี
ความสำคัญของURL,ที่อยู่ IPและDNS
          URLคือที่อยู่เว็บที่พิมพ์ลงไปในเบราว์เซอร์เพื่อไปยังเว็บไซต์ซึ่งทุกเว็บไซต์จะมีURLตัวอย่างเช่นURL http://www.google.com จะนำคุณไปยังเว็บไซต์ของGoogle ทุกURLมีที่อยู่ IP ด้วยเช่นกัน ที่อยู่ IPคือชุดตัวเลขที่บอกคอมพิวเตอร์ของคุณถึงที่ที่จะค้นพบข้อมูลที่คุณกำลังมองหา ที่อยู่IPเป็นเสมือนหมายเลขโทรศัพท์ที่ซับซ้อนและยาวมากๆ เนื่องจากที่อยู่ IPซับซ้อนและยากที่จะจดจำURLจึงถูกสร้างขึ้น แทนที่จะพิมพ์ที่อยู่IP (45.732.34.353)เพื่อไปยังเว็บไซต์ของGoogleทั้งหมดที่คุณต้องพิมพ์คือURLwww.google.com
          เนื่องจากอินเทอร์เน็ตมีเว็บไซต์และที่อยู่IPมากมาย เบราว์เซอร์ของคุณไม่อาจรู้โดยอัตโนมัติได้ว่าแต่ละเว็บไซต์และที่อยู่IPตั้งอยู่ที่ใด เบราว์เซอร์จึงต้องค้นหาดูแต่ละรายการ นั่นคือจุดที่DNS (Domain Name System)ก้าวเข้ามามีบทบาท
          DNSโดยแท้จริงคือสมุดโทรศัพท์สำหรับเว็บนั่นเอง แทนที่จะแปลง”จอห์น โด”เป็นหมายเลขโทรศัพท์DNSจะแปลงURLwww.google.comเป็นที่อยู่IPแทน และพาคุณไปยังไซต์ที่คุณกำลังมองหา

3.) Home Networkหมายถึงอะไร และมีวิธีการทำอย่างไร
3.1ความหมายของHome Network
          Home Network(ระบบเครือข่ายภายในบ้าน)หมายถึง ระบบเครือข่ายเล็กๆภายในบ้าน ที่มีคอมพิวเตอร์มากกว่า1เครื่อง เพื่อให้สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้หลายๆเครื่องพร้อมๆกัน เครือข่ายในบ้าน หรือHome Networkก็คือเครือข่ายที่เชื่อมโยงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในบ้านเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่อง พรินเตอร์ ปาล์ม หรือ พ็อคเก็ตพีซี โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์สําหรับแชร์อินเทอร์เน็ต เป็นต้น
3.2การทำงานของHome Network
          โฮมเน็ตเวิร์ก คือ การทำให้อุปกรณ์ทุกชิ้นภายในบ้านสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ และสามารถรับคำสั่งจากระยะไกลได้ โดยมีคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลาง กล่าวคือ ความพยายามที่จะทำให้เครื่องใช้ทุกอย่างภายในบ้านมีความฉลาด สามารถอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้มากที่สุด ทําให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีหลายอย่างเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในบ้าน โดยเฉพาะ คือการพยายามใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วในบ้านเพื่อหลีกเลี่ยงการเดินสายสัญญาณสำหรับรับส่งข้อมูลโดยไม่จําเป็น เช่นการนําสายโทรศัพท์ สายไฟฟ้า สายอากาศทีวี ที่มีการเดินแบบเป็นระบบ มาเป็นสื่อในการรับส่งข้อมูล

สําหรับเทคโนโลยีเครือข่ายในบ้าน ที่พบส่วนใหญ่ในปัจจุบัน แบ่งได้เป็น ดังนี้
1.การใช้สายโทรศัพท์ในบ้านสร้างเครือข่าย(Phoneline Network :HomePNA)
คือ การใช้สายโทรศัพท์ภายในบ้านแทนสายเคเบิล เพื่อเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ ณ จุดต่างๆภายในบ้าน ให้สามารถเชื่อมโยงเป็ระบบเครือข่ายเดียวกัน เพียงแค่ซื้ออุปกรณ์มาติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วต่อสายเข้ากับปลั๊กโทรศัพท์(Outlet)ก็สามารถใช้งานได้ทันทีโดยขณะที่เราใช้งานเครือข่ายอยู่ก็จะไม่ไปรบกวนการใช้โทรศัพท์ตามปกติ
2.การใช้สายไฟฟ้าในบ้านสร้างเครือข่าย(Powerline Network)
หรือที่บางคนเรียก AC Network คือการนําสายไฟฟ้าใช้เสียบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน มาใช้ในการรับส่งข้อมูล วิธีใช้งานก็คือ การซื้ออุปกรณ์พิเศษที่เสียบเข้าปลั๊กไฟโดยตรง โดยอุปกรณ์เหล่านี้ ต้องมีช่องปลั๊กไฟให้เสียบอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆได้ เพื่อที่จะไม่ไปเบียดเบียนปลั๊กไฟเดิมที่มีอยู่ และมีสายที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของคุณโดยตรง วิธีนี้เป็นความคิดที่ดีมาก เนื่องจากบ้านทุกหลัง แทบจะมีการเดินสายไฟกันไปทั่วบ้านอยู่แล้ว
3.การใช้เทคโนโลยีไร้สายในการสร้างเครือข่าย(Wireless Network)
เป็นเทคโนโลยียอดนิยมสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สาย ในปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมาก เนื่องจากไม่ต้องพึ่งพาสายเคเบิลใดๆ และยังสามารถเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ไปมาได้ทุกจุดในบ้าน เท่าที่อยู่ในระยะการทํางานของเครือข่าย
4.การใช้เครือข่าย Ethernet
หรือที่เรียกว่าLan คือเครือข่ายแบบดั้งเดิมที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในออฟฟิศ หรือสำนักงานต่างๆ แต่เทคโนโลยีนี้ไม่นับเป็นเทคโนโลยีแบบNo New Wire Technologyเนื่องจากต้องเดินสายสัญญาณภายในบ้านด้วย แต่ที่นิยมนำมาใช้ภายในบ้านเพราะมีราคาถูกลงมาก เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้รับ จึงเหมาะกับบ้านที่ไม่มีการเดินสายไฟฟ้า หรือสายโทรศัพท์อย่างเป็นระบบ

4.) 3GและADSLมีความแตกต่างกันอย่างไร
คุณสมบัติและประโยชน์ของADSL
1.ความเร็วสูง เทคโนโลยีADSLมีความเร็วสูงกว่าโมเด็มแบบ56Kธรรมดากว่า5เท่า(256 Kbps.)หรือสูงสุดกว่า140ท่าที่ความเร็ว8 Mbps.
2.การเชื่อมต่อแบบAlways On สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา เหมาะสำหรับการใช้งานอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
3.ค่าใช้จ่ายคงที่ในอัตราที่ประหยัด ค่าใช้จ่ายเป็นแบบเหมาจ่ายรายเดือนแบบไม่จำกัดเวลา ในราคาเริ่มต้นที่ประหยัด ไม่ต้องเสียค่าเชื่อมต่อโทรศัพท์ต่อครั้ง
4.ที่สำคัญBandwidthการใช้งานจะมีขนาดคงที่ตามอัตราที่ท่านเลือกใช้บริการอยู่เสมอ ขณะที่ขนาดของBandwidthของการเข้ารับบริการCable Modemหรือการใช้บริการ อินเทอร์เน็ตปกติของท่าน จะถูกบั่นทอนลงตามปริมาณการใช้งาน อินเทอร์เน็ตโดยรวม หรือการใช้สายCable Modemของเพื่อนบ้านท่าน
5.สายสัญญาณที่ผู้ให้บริการADSLสำหรับท่านนั้น เป็นสายสัญญาณอิสระไม่ต้องไปShareใช้งานกับใคร ด้วยเหตุนี้ จึงมีความน่าเชื่อถือ และมีความปลอดภัยสูง
คุณสมบัติและประโยชน์ของ3G
          3Gเป็นมาตรฐานโทรศัพท์มือถือในยุคที่3ถูกพัฒนาเพื่อแทนที่ ระบบโทรศัพท์2Gมาตรฐานโทรศัพท์มือถือยุคที่3หรือที่เรียกว่า ระบบUMTSหรือW-CDMAในระบบGSMใช้ช่วงความถี่ตั้งแต่850 , 900 , 1800 , 1900และ2100ผสานเทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูล ใช้งานด้านมัลติมีเดีย ส่งผ่านข้อมูลทั้งภาพและเสียงในระบบไร้สายด้วยความเร็วที่สูงมีขีดความสามารถในการให้บริการทุกที่ ทุกเวลา เช่นเดียวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่
สรุปข้อแตกต่างของ3GและADSLได้ดังนี้ 

เทคโนโลยี

ADSL

3G

ลักษณะการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

สายคู่โทรศัพท์ธรรมดา

ไร้สาย

ขนาด/พื้นที่ในการรับข้อมูล

มากกว่า

 

ค่าใช้จ่าย

ถูกกว่า

 

ขีดความสามารถเรื่องการให้บริการ

เฉพาะเครื่อง(ที่บ้าน/สำนักงาน)

ทุกที่ถูกเวลา

จำนวนผู้ใช้บริการ

ขยายพื้นที่ หลายคน หลายกลุ่ม

ทีละคน ทีละบ้าน

ปริมาณข้อมูล

ใช้ได้เต็มสปีด

จำกัดปริมาณข้อมูล

ความเร็วในการรับส่งข้อมูล

เสถียรกว่า มั่นคง ไม่เปลี่ยนแปลง

เปลี่ยนแปลงตามยุค ตามข้อจำกัด

ความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ

สูงกว่า เพราะเป็นสายสัญญาณโทรศัพท์ อิสระ ไม่ต้องแชร์ใช้งานกับใคร

น้อยกว่า เพราะสามารถแชร์ร่วมกับเครื่องอื่นได้

5.) IPv6, Cloud Computing Software Development,และWebRTCมีลักษณะอย่างไรมีผลกระทบกับธุรกิจและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอย่างไร

5.1ลักษณะของIPv6
          IPv6 ไม่ได้เป็นเพียงการขยายพื้นที่IP Addressแต่ยังเป็นอินเทอร์เน็ตโพรโทคอลใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงและขยายจากIPv4ข้อดีที่สำคัญที่สุดของรูปแบบอินเทอร์เน็ตแอดเดรสใหม่นี้ คือมีพื้นที่แอดเดรสจำนวนมาก จนนับไม่ถ้วน
5.2 ลักษณะของCloud Computing Software Developme
          Cloud computing Software Development เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อมุ่งเน้นในเรื่องของการให้บริการข้อมูลและแอปพลิเคชันต่างๆบนอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรพื้นฐาน อาทิ แหล่งเก็บข้อมูล หน่วยความจำ รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาและจัดการแอปพลิเคชัน หรือแม้แต่ข้อมูลต่างๆยกตัวอย่าง แอปพลิเคชันที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างมากได้แก่แอปGma, Yahoo!หรือแอปพลิเคชันที่ใช้ในการจัดเก็บรูปภาพบนอินเตอร์เน็ต รวมทั้งsocial networkหรือเว็บไซท์ที่ใช้เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับเพื่อน
5.3 ลักษณะของWebRTC
          WebRTC เป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่สามารถทำให้คุยแบบเห็นหน้า ได้ยินเสียง และแชร์ไฟล์หากันแบบP2Pได้โดยไม่ต้องพึ่งพาโปรแกรมเสริมใดๆ
5.4 ผลกระทบต่อธุรกิจของทั้ง3ลักษณะนี้
– ประโยชน์ของ IPv6 คือสามารถขยายแอพพลิเคชั่นส์และบริการใหม่สำหรับอุปกรณ์ต่างๆ ได้ทั่วโลก-
– แนวโน้มของการพัฒนาซอฟต์แวร์มีมากขึ้น ดังนั้น ธุรกิจที่มีบริการประเภทนี้ ควรปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เติบโตในท้องตลาดได้
– องค์กรธุรกิจหลายแห่งได้นำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ เพราะช่วยลดต้นทุนได้ หลายด้านเช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าเดินทางไปพบปะกัน เป็นต้น
– ธุรกิจสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ สังคม และสามารถเอาชนะคู่แข่งได้
5.5 ผลกระทบต่อกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
– IPv6 จะตอบสนองในเรื่องความต้องการที่เพิ่มเร็วขึ้นสำหรับไอพีแอดเดรสทั่วโลกจำนวนมากจากบริการคลาวด์,ธุรกรรมแบบMachine-to-Machine, RFID, Wireless Sensor Networkและสมาร์ทกริด
– ผู้ใช้มีความสะดวกสบายมากขึ้น และใช้งานได้หลากหลาย
– นอกจากจะจัดเก็บรูปภาพ อ่านและส่งอีเมล์ หรือแลกเปลี่ยนข่าวสารผ่านทางแอปพลิเคชันที่ติดตั้งอยู่บนdesktopแล้ว ในปัจจุบันนี้เราทำงานดังกล่าวผ่านทาง web browsersเปรียบเสมือนมีหน่วยความจำอยู่บนเว็บ จัดเก็บไว้ เวลาจะใช้ก็เรียกมาใช้งาน ซึ่งช่วยประหยัดพื้นที่ในคอมพิวเตอร์ของเราได้อีกด้วย
-WebRTC เป็นการสื่อสารกันแบบโต้ตอบทันที ทำให้ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร
แหล่งที่มา
http://krutuk.kkw2.ac.th/2012/?page_id=13
http://krutuk.kkw2.ac.th/2012/?page_id=16
http://www.google.co.th/intl/th/goodtoknow/web/101/
http://www.kmitl.ac.th/~kpteeraw/learning/home_net_2.pdf
https://www.docstoc.com/pass?docId=40469817&download=1
http://www.mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/2163-adsl-คืออะไร.html
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=0d409099dd20b30e
http://th.wikipedia.org/wiki/3_%E0%B8%88%E0%B8%B5
http://www.geeknone.com/2010/09/3g.html
http://www.kwamru.com/113
http://www.pacnet.com/th/what-is-ipv6/
http://www.ecti-thailand.org/emagazine/views/63
http://inetbangkok.in.th/?p=918

2 responses to “Assignment2

    • รับทราบค่ะอาจารย์ คือหนูทำที่คอมพิวเตอร์ของหนู หนูดูอย่างละเอียด ดูหลายรอบ ทุกอย่างก็ดูเรียบร้อยนะคะ พออาจารย์บอกมาให้แก้ไขหนูเลยไปเปิดที่คอมเครื่องอื่น ปรากฏว่าพบตัวสี่เหลี่ยมเต็มไปหมด หนูแปลกใจมากค่ะที่คอมของหนูไม่เห็นมีสี่เหลี่ยมขึ้นมาเลย แต่ทำไมเครื่องอื่นถึงเห็น หนูขอบคุณอาจารย์มากนะคะ หนูทำการแก้ไขเรียบร้อบแล้วค่ะ

Leave a comment